กะเพรา สมุนไพรบนจานอาหาร


กะเพราไก่ไข่ดาว กะเพราไข่เยี่ยวม้า ฯ และอีกหลายเมนูที่มีกะเพราเป็นส่วนประกอบ แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่า สมุนไพร ใบเล็ก กลิ่นฉุน บนจากอาหารคุณเป็นมากกว่าอาหารที่ทำให้คุณอิ่มท้อง

กะเพรา จัดเป็นพืชสมุนไพร และมีกลายพันธุ์ เช่น กะเพราแดง กะเพราขาว ลักษณะโดยทั่วไปของกะเพรา เป็นไม้พุ่ม ความสูงประมาณ 30-120 เซนติเมตร ลำต้นของกะเพราเป็นไม้เนื้อแข็ง มีกลิ่นหอม ใบของกะเพรามีกลิ่นฉุน ลักษณะใบหยาบมีขนโดยเฉพาะส่วนที่เป็นยอดอ่อน ดอกกะเพรา มีลักษณะเป็นชั้นๆคล้ายรูปฉัตร กลีบดอกมีสีขาว เมล็ดมีสีดำ ห่อหุ้มด้วยกลีบเลี้ยง

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรและการรักษา

ใบ - ใบสดของกะเพรา มีกลิ่นฉุน และมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก ซึ้งใน น้ำมันหอมระเหย ประกอบด้วยสารเคมี อย่าง linaloo และ methyl chavicol

วิธีการปรุงเป็นยา

ใบกะเพราสด - ใบกะเพราสด 1 กำมือ มาต้มในน้ำเดือด แล้วกรองเอากากออกเอาแต่น้ำดื่ม

สรรพคุณ - เป็นยาแก้ท้องอืด ขับลมในลำไส้ บรรเทาอาการปวดท้อง บำรุ่งธาตุ ขับลม นอกจากนี้น้ำที่คั้นได้จากใบกะเพราหากนำมาทาผิวหนัง ยังสามารถช่วยรักษา กลาก เกลื้อน ได้อีกด้วย

ใบกะเพรา - ยังสามารถแก้อาการปวดท้องของเด็กได้ดี วิธีการใช้นั้น นำใบกะเพรามาคั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับยามหาหิงคุ์ และทาบริเวณรอบๆสะดือ ของเด็ก

ใบกะเพราแห้ง - นำมาบดแล้วชงกินกับน้ำ สรรพคุณที่ได้ จะช่วยยับยั้งการเจริญติบโตของเชื้อโรคบางชนิดและฆ่าเชื่อจุลินทรีย์บางอย่างในลำไส้อีกด้วย

เมล็ด - เมล็ดของกะเพรานำมาแช่น้ำ จะได้หมอกของเหลวสีขาว ใช้พอกบริเวณตา เมื่อมีอาการฝุ่นเข้าตา จะทำให้ตาไม่บวมช้ำ

ราก - รากของกะเพรา นำไปตากให้แห้ง ต้มกับน้ำเดือด มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุได้เป็นอย่างดี และแก้อาการธาตุพิการ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประโยชน์ของ “เนื้อกบ” สุดอร่อยที่คุณต้องลิ้มลอง

ขึ้นฉ่าย ผักสวนครัว สมุนไพรมีกลิ่นหอม ประโยชน์และโทษของคื่นฉ่าย

ประโยชน์ปลาเนื้ออ่อน กับเมนู ปลาคังลวกจิ้ม (เมนูปลา)